Last updated: 19 ก.พ. 2563 | 16077 จำนวนผู้เข้าชม |
เด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็ก เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนมากที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย การได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทารกเติบโตได้สมบูรณ์แข็งแรง
เหนือสิ่งอื่นใด ขณะที่แม่ให้นมจะต้องโอบกอดลูกไว้ข้างนอก แม่ลูกสบตากัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นวิธีสร้างสายใยความรักความผูกพันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งระหว่างแม่กับลูก
ประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมอง
งานวิจัยเผยว่าทารกที่กินนมแม่มีโอกาสในด้านพัฒนาการทางสมองและเชาว์ปัญญา (IQ) ที่ดีกว่าเด็กที่กินนมผสม โดยสามารถวัดได้เมื่อเด็กโตขึ้นและกำลังเข้าสู่วัยเรียน นอกจากนี้สารอาหารและวิตามินจากน้ำนมแม่ยังช่วยให้พัฒนาการของสมองเด็กและเซลล์ประสาททำงานได้อย่างสมบูรณ์
สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับประโยชน์จากนมแม่เพื่อช่วยให้พัฒนาทางสมองเป็นไปอย่างปกติ และช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคจิตเวชได้ในอนาคตด้วย
ประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ดี
ความสำคัญของนมแม่ที่ช่วยให้ลูกสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการเจ็บป่วย ด้วยการสร้างแอนติบอดี (Antibody) มาต่อต้านอาการเจ็บป่วยทั่วไปอย่างไข้หวัด การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไปจนถึงการป้องกันการติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (RSV) โรคงูสวัด
ภูมิต้านทานเหล่านี้มาจากแม่ที่เคยเป็นโรคเหล่านี้มาก่อนและมีภูมิต้านทานโรคแล้ว ด้วยการส่งผ่านไปยังลูกน้อยทางน้ำนมแม่ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถช่วยป้องกันโรคที่จะเกิดกับลูกได้ 100% แต่ก็ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคเหล่านี้กับลูกได้
นอกจากนี้นมแม่ยังสามารถช่วยลดการเกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้ รวมไปถึงโรคร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไหลตายในเด็กทารก (SIDS) เป็นต้น
ประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
นมแม่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกายให้ลูกเติบโตได้อย่างปกติ เมื่อลูกเข้าสู่วัยเริ่มเดินจะมีการทรงตัวที่ดีเนื่องจากมีกระดูกและกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจากการได้รับสารอาหารจากนมแม่ นอกจากนี้การดูดนมแม่จากอกยังช่วยในเรื่องของสุขภาพช่องปากในเด็ก เมื่อฟันบนขึ้นจะเรียงตัวไม่ทับซ้อนกันและไม่ผุกร่อนอีกด้วย
การเก็บรักษานมแม่ และวิธีการนำมาใช้
การเก็บรักษาน้ำนมแม่ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยคงคุณค่าของน้ำนมไว้ให้มากที่สุดสำหรับลูกรักของเรา โดยระยะเวลาที่เก็บน้ำนมแม่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เก็บ
วิธีการเก็บรักษา | อุณหภูมิ (โดยประมาณ) | ระยะเวลาที่เก็บรักษาน้ำนมไว้ได้ |
เก็บในอุณหภูมิห้อง (นอกห้องแอร์) | สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส | ไม่เกิน 1 ชั่วโมง |
เก็บในอุณหภูมิปกติ (ในห้องแอร์) | ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส | 4 ชั่วโมง |
กระติกน้ำแข็ง | ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส | สูงสุด 24 ชั่วโมง |
ตู้เย็นช่องธรรมดา | 2-4 องศาเซลเซียส | 2-5 วัน (เก็บไว้ใกล้บริเวณจุดที่เย็นที่สุด) |
ช่องแช่แข็ง ของตู้เย็นแบบประตูเดียว | -10 ถึง -15 องศาเซลเซียส | 2 สัปดาห์ |
ช่องแช่แข็ง ของตู้เย็นแบบประตูแยก | -18 ถึง -20 องศาเซลเซียส | 3 เดือน |
ตู้แช่แข็ง | ต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส | 6 เดือน |
*ไม่ควรเก็บในที่ที่อุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส
วิธีการนำนมแม่ที่แช่เย็น / แช่แข็งมาใช้
สำหรับการอุ่นนมแม่ในปัจจุบันมีเครื่องอุ่นนมที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณแม่สามารถนำนมที่แช่แข็งไว้มาอุ่นได้อย่างรวดเร็ว ให้ความร้อนได้ทั่วถึง จึงง่ายต่อการเตรียมนมให้ลูกดื่มได้อย่างทันท่วงที
โดยเครื่องอุ่นนม Milk Prep ของ Beaba เป็นเครื่องอุ่นนมแม่แบบตั้งอุณหภูมิได้ 3 ระดับที่ 22°C 37°C และ 48°C ซึ่งคุณแม่สามารถเลือกอุณหภูมิได้ตามต้องการ โดยเฉพาะการอุ่นนมที่อุณหภูมิ 37-39°C ซึ่งเป็นอุณภูมิที่จะไม่ทำให้เสียคุณค่าในนมแม่
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ชงนมผง โกโก้ และซุปได้อีกด้วย ให้ความร้อนทั่วถึง ไม่เป็นก้อน ไม่เป็นฟองอากาศ ใช้งานง่ายและรวดเร็วเพียง 1-2 นาที นมอุ่นๆ ก็พร้อมเสิร์ฟให้ลูกน้อย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
31 ต.ค. 2563
27 ก.ย. 2563